ปรัชญา    เรียนดี  กีฬาเด่น  เน้นคุณธรรม สัมพันธ์ชุมชน


การเรียนการสอน    เปิดสอนตั้งแต่ชั้น อนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


คำขวัญของโรงเรียน   ประพฤติดี มีวินัย  ตั้งใจเรียน


สีประจำโรงเรียน   ม่วง - ขาว

อักษรย่อของโรงเรียน   ส.ป.

ตราโรงเรียน



ประวัติความเป็นมาของลิเกฮูลู

ลิเกฮูลู หรือ ดิเกฮูลู

         เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวมลายูมุสลิมภาคใต้ของไทย ขึ้นบทเป็นเพลงประกอบดนตรีและจังหวะตบมือ


การแต่งกาย
         การแต่งกายของผู้เล่นดิเกฮูลู สมัยก่อนมักแต่งชุดอย่างชาวบ้านทั่วไปคือ โพกหัว สวมเสื้อคอกลม นุ่งโสร่ง บางครั้งเหน็บขวานไว้ข่มขวัญคู่ต่อสู้ ต่อมามีการแต่งกายแบบเล่นสิละ (ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวใต้) คือนอกจากจะนุ่งกางเกงขายาวธรรมดาเหมือนแต่เดิม ก็นุ่งผ้าโสร่งซอเกตลายสวยสดทับข้างนอกสั้นเหนือเข่าเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง พร้อมกับมีผ้าลือปักคาดสะเอว นอกนั้นก็สวมเสื้อคอกลมมีผ้าโพกศีรษะเหมือนเดิม ปัจจุบันนิยมแต่งกายแบบสมัยนิยม หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละคณะให้มีสีสันสดใสสะดุดตา

เวทีแสดง

         จะยกพื้นประมาณ 1 เมตร เปิดโล่งไม่มีม่าน ไม่มีฉาก ลูกคู่จะขึ้นไปนั่งล้อมวง ร้องรับและตบมือโยกตัวให้เข้ากับจังหวะดนตรี ส่วนผู้ร้องหรือผู้โต้กลอนจะลุกขึ้นยืนข้างๆ วงลูกคู่ ถ้ากรณีมีการประชันกัน แต่ละคณะจะขึ้นไปอยู่บนเวทีด้วยกัน แต่ล้อมวงแยกกันพอสมควร การแสดงก็ผลัดกันร้องทีละรอบทั้งรุกทั้งรับ เป็นที่ครึกครื้นแก่ผู้ชม


การแสดง

         การแสดงจะเริ่มต้นการแสดงด้วยดนตรีโหมโรงเป็นการเรียกผู้ชมและเร้าอารมณ์คนดู สมัยก่อนมีการไหว้ครูในกรณีที่มีการประชันกันระหว่างหมู่บ้าน (หรืออาจมีหมอผีของแต่ละฝ่ายปัดรังควานไล่ผีคู่ต่อสู้ก็มี) ปัจจุบันสู้กันด้วยศิลปะหรือคารมอย่างเดียว เมื่อลูกคู่โหมโรงเสร็จ ต่อจากนั้นนักร้องต้นเสียงจะออกมาวาดลวดลายด้วยเพลงในจังหวะต่างๆ ทีละคน เริ่มต้นเนื้อร้องกล่าวถึงความประสงค์ในการเล่น แล้วจึงเข้าสู่เรื่องราวแสดง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวจากเหตุการณ์บ้านเมือง ปัญหาท้องถิ่น ความรักของหนุ่มสาว หรือเรื่องตลกโปกฮา

        การแสดงดิเกฮูลู แต่เดิมนิยมแสดงในงานพิธีต่างๆ เช่น มาแกปูโล๊ะ (งานแต่งงาน) พิธีเข้าสุหนัต งานเมาลิด งานฮารีรายอ งานบุญ และแสดงเพื่อแก้บน เป็นการขอพรจากพระอัลลอฮฺโดยผ่านการแสดงดิเก ปัจจุบันยังแสดงในงานเทศกาลต่างๆ ร่วมกับมหรสพอื่นๆ เช่น ในงานพิธีถวายพระพรวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น หรือเป็นการแสดงเพื่อมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง 


        โดยการแสดงออกผ่านท่าทางประกอบและการตบมือ เช่น การใช้มือแสดงท่าทาง โดยการโบกมือกวักมือ หมายถึงเรียกให้กลับบ้านให้มาดูแลทะเลบ้านเรา ท่าทางการตบมือเหมือนปลา เหมือนกับการแสดงให้เห็นถึงการเอาตัวรอดของปลาให้หลุดพ้นจากการตามล่า ทำลายจากระเบิด อวนลาก อวนรุก และท่าทางการตบมือชักเชือก ที่แสดงถึงความร่วมมือ ความสามัคคี โดยใช้เชือก ซึ่งเป็นเครื่องมือจับปลาของชาวประมงพื้นบ้าน เป็นสื่อให้เกิดพลังชุมชน เป็นต้น